วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้


ความหมายของความรู้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ dki0yfdki8;k,i^h

ศาสตราจารย์ "อิคูจิโร โนนากะ
    " ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM ระดับโลก ที่ล่าสุดได้มาร่วมงาน APO International Productivity Conference 2007 ได้ให้แนวคิดว่า แนวคิด KM หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกว่า knowledge base management (KMB) หรือการจัดการจากมุมมองความรู้นั้นมีความสำคัญ และองค์กรต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้

"โนนากะ" เน้นในเรื่องการสร้างความรู้ใหม่
     แนวคิดนี้อยู่ในโมเดลที่เรียกว่า SECI model คือกระบวนการหมุนไปหมุนมาระหว่าง tacit กับ explicit มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ระดับองค์กรเป็นหลัก ไม่ใช่แค่ความรู้ในระดับใดระดับหนึ่ง โดยผู้บริหารทุกระดับชั้นมีบทบาทสำคัญ
สำหรับผู้บริหารแบบตะวันตกอย่างอเมริกามักจะมองผู้บริหารระดับกลางว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ เป็นก้อนเนื้อร้าย (cancer) ทำให้เสียเงินเสียทอง แต่ถ้ามองในมุมของ "โนนากะ" นั้น ผู้บริหารระดับกลางจะเป็นจุดเชื่อมต่อของกลยุทธ์ (strategic knot) เชื่อมต่อระดับบนกับระดับล่าง
ผู้บริหารระดับบนจะเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์หรือความฝัน ผู้บริหารระดับกลางจะเอาวิสัยทัศน์หรือความฝันนั้นมาแปลงเป็นแนวคิดในภาคปฏิบัติ รวมทั้งต้องแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องกันของความฝันระดับบนที่ยังไม่สอดคล้องกับระดับล่าง

     "ผู้บริหารระดับกลางมีความสำคัญในการสร้าง KMB เพราะนำเอาวิสัยทัศน์มาสร้างเป็นแนวทางปฏิบัติ คีย์สำคัญอยู่ที่การพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง"
ในการบริหารโครงการของบริษัทชั้นนำของโลกนั้น cross-functioal team หรือ multi-global team เช่นบริษัทข้ามชาติจะดึงคนในแต่ละประเทศมาเป็นทีมพัฒนาสินค้า ซึ่งจะต้องดึงคนจากที่ต่างๆ มาฟอร์มเป็นทีม ซึ่งตัวผู้นำกลุ่มหรือ project leader ผู้บริหารระดับกลางที่นำโครงการจะต้องมีการพัฒนา high-emotional knowledge
     ทุกคนย่อมมี tacit knowledge แต่เวลาแลกเปลี่ยนความรู้กัน คนเราไม่ได้แลกเปลี่ยนแค่ข้อมูล แต่ยังแลกเปลี่ยนความเอาใจใส่กัน (care) แลกเปลี่ยนความรัก love แลกเปลี่ยนความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust) และแลกเปลี่ยนความปลอดภัย (safety) ซึ่งเป็นพื้นฐานของ tacit knowledge
     "4 เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะคือทุนทางสังคม (social capital)"
ถ้าไม่มี 4 ตัวนี้ เราจะไม่มีการแลก tacit knowledge กัน เพราะคนไม่ไว้ใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกว่าถูกละเลย หรือถูกปฏิบัติไม่ดี
โดยเฉพาะสังคมตะวันตก พอใช้ไอทีมากๆ เข้าก็ละเลยทุนทางสังคม ซึ่งทุนทางสังคมก็คือ high-emotional knowledge
     "คนที่เป็นผู้นำ เป็นผู้บริหารโครงการ จะต้องเน้นตัวนี้ให้มากๆ แล้วเขาก็จะสามารถจูงใจให้คนในทีมมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน"
     มนุษย์หรือคนเป็นผู้สร้างความรู้ ไม่ได้เป็นเพียงตัวประมวลผล ทำตัวเหมือนเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ ดังนั้น tacit knowledge เป็นเรื่องสำคัญมาก แต่เครื่องมือด้านไอทีก็ใช้ได้ในการช่วยในเรื่องแลกเปลี่ยนข้อมูล
"เราต้องไม่ลืมบทบาทของมนุษย์ ว่ามนุษย์คือผู้ที่สร้างความรู้ เรามองว่าคำว่าการบริหารงานนั้น ไม่ใช่เป็นการบริหารเพื่อหาเงินอย่างเดียว เพราะแท้จริงแล้ว การบริหารงานคือวิถีชีวิต"
     "โนนากะ" ชี้ว่า ในระดับประเทศ tacit knowledge นั้นมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่หรือสังคม ดังนั้นผู้บริหารไทยไม่ควรไปเลียนแบบการจัดการของญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป หรือประเทศใดเลย เพราะ knowledge way เป็นเรื่องเจาะจงของสังคมนั้นๆ
     "สิ่งที่คาดหวังคือประเทศไทยน่าจะสร้าง knowledge ของประเทศ และเมื่อสร้างแล้วจะต้องมีผลลัพธ์ที่ดีคือประชาชนมีความสุข"
     "โนนากะ" มีมุมมองว่า สามารถไปศึกษาระบบการจัดการของยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เพื่อ ดูว่าจุดเด่นอยู่ตรงไหน แล้วนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
หมายความว่า ประเทศไทยมีประโยชน์อย่างไรต่อโลก ดังนั้นเราต้องพยายามหาเอกลักษณ์ของประเทศไทย ต้องมาศึกษาให้ชัดเจนว่าประเทศไทยมีประโยชน์ต่อโลกนี้อย่างไร โดยต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน


ไฮดีโอ ยามาซากิ (Hideo Yamazaki) นักวิชาการการจัดการความรู้ชาวญี่ปุ่น (บูรชัย ศิริมหาสาคร, 2550 : 22-24) ได้อธิบายนิยามของความรู้ด้วยรูปแบบของปิรามิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้มี 4 ประเภทและมีพัฒนาการตามลำดับเป็น 4 ขั้น จากต่ำไปสูง คือ ข้อมูล---->สารสนเทศ---->ความรู้---->ภูมิปัญญา ซึ่งแต่ละระดับ มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง เป็นฐานของกันและกัน ดังนี้ (ดูภาพประกอบที่ 2.1)
1.  ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้จากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น โดยยังไม่ผ่านกระบวนการ การวิเคราะห์ (ด้วยกลวิธีทางสถิติ) จึงเป็นข้อมูลดิบ
2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
4. ภูมิปัญญา (Wisdom) คือ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงาน บางท่านจึงเรียกภูมิปัญญาว่า ปัญญาปฏิบัติ

ดาเวนพอร์ตและพรูเซค ( Davenport & Prusak, 1995 ) ระบุว่า ความรู้ เป็นการผสมผสานของกรอบสำหรับการประเมิน และการนำประสบการณ์และสารสนเทศใหม่มาผสมรวมกัน

Peter Senge (1994) ได้ให้ความหมายพื้นฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง  สำหรับองค์การเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแค่ “อยู่รอด” การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญ และโดยแท้จริงแล้วมีความจำเป็น  แต่สำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น  การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดจะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความสามารถของเราในการสร้างสรรค์  หัวใจขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (A Shift of Mind)  

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ (Peter F Drucker, 1909-2005) เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แต่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ
งานเขียนของดรักเกอร์เกี่ยวกับการบริหารองค์กร จะเห็นแนวคิดของเขาที่มีลักษณะโดดเด่นอยู่ 3 ประการ
ประการแรก เป็นทัศนะที่มองสิ่งต่างๆ จากจุดที่สูงของสังคมลงมา สังคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นความคิดของดรักเกอร์ มาตรฐานที่ใช้วัดคำว่า “การบริหาร” จึงอยู่ที่ผลกระทบต่อสังคมโดยรวมหรือต่อสาธารณะประโยชน์
ประการที่ 2 วิธีคิดของดรักเกอร์อาศัยทักษะความเชี่ยวชาญแบบพื้นฐานบวกกับความรอบรู้สาขาวิชาด้านต่างๆ ทำให้เกิดวิธีการวิเคราะห์ที่มองเห็นปัญหาต่างๆ อย่างได้ผล และสามารถนำความคิดนั้นมาใช้ในทางปฏิบัติ คำขวัญที่ดรักเกอร์ยึดถือคือ เรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติ”
ประการที่ 3 ความสามารถในการวิเคราะห์ได้ชัดเจนและแม่นยำจะไม่มีประโยชน์อะไร หากไม่สามารถนำเสนอออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนและคนเข้าใจง่าย สิ่งที่เป็นมนต์เสน่ห์และพลังของแนวคิดดรักเกอร์คือความสามารถในการนำเสนอแนวคิดต่างๆ ออกมาเป็นหลักการที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ หลักการต่างๆ นั้นก็มาจากความคิดแบบสามัญสำนึก (common sense) เช่น ประโยคคำพูดของเขาที่ว่า โอกาสทางธุรกิจนั้นอยู่ภายนอกองค์กร ภายในองค์กรล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องค่าใช้จ่าย” เป็นต้น

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย ได้เสนอยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ 8 ประการ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยทั้งหมดรวมกัน เพื่อพัฒนาประเทศให้ไปสู่ความเจริญที่แท้จริงและยั่งยืน และยุทธศาสตร์หนึ่งในแปดที่เสนอ

คือ ยุทธศาสตร์ญาณวิทยา หรือยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ความจริง และปัญหา ประเวศ วะสี
(2537: 10 – 17) ได้เสนอแนวคิดว่า ความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่า ปัญญา 4 หรือ
จตุรปัญญา คือ
1. ความรู้ธรรมชาติที่เป็นวัตถุ (วิทยาศาสตร์กายภาพ)
2. ความรู้ทางสังคม (วิทยาศาสตร์สังคม)
3. ความรู้ทางศาสนา (วิทยาศาสตร์ข้างใน)
4. ความรู้เรื่องการจัดการ
ซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้เกิดดุลยภาพในสังคม เราจำเป็นต้องมีปัญญาอย่างบูรณาการ การศึกษาและการวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญญาทุกด้านมิใช่ให้
เรียนรู้เป็นส่วน ๆ เพราะความรู้แบบแยกส่วนจะนำไปสู่การกระทำแบบแยกส่วน ทำให้เกิดการเสีย
ดุลยภาพและเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น การศึกษาเรียนรู้ จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยง เนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเป็นโลกแห่งการเชื่อมโยงเป็นองค์รวม การจัดการเรียนรู้ ควรจะไปให้ถึง
3 ระดับ คือ

1. ระดับที่เกิดความรู้ ซึ่งหมายถึง การรู้ความจริง การที่บุคคลจะทำอะไรให้สำเร็จได้ บุคคลนั้นต้องรู้และใช้ความจริง ความรู้ต้องเป็นความจริง เพราะการใช้ความจริงทำให้ทำได้ถูกต้อง การให้ผู้เรียนสัมผัสความจริงเท่ากับเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับเบื้องต้น

2. ระดับที่เกิดปัญญา เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถบูรณาการ หรือเชื่อมโยงความรู้ใน 4 ด้านดังกล่าวข้างต้น และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

3. ระดับที่เกิดจิตสำนึก คือเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจตนเองว่าสัมพันธ์กับสรรพสิ่งอย่างไร
ประเวศ วะสี กล่าวต่อไปว่า จริยธรรมจะเกิดแก่บุคคล เมื่อบุคคลนั้นได้บรรลุการ
เรียนรู้ทั้ง 3 ระดับดังกล่าว จึงควรมีการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มาเน้นการสัมผัสความจริง การคิดและการจัดการให้มากขึ้นทุกระดับ

ประเวศ วะสี (2537:23 – 24) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนของไทย ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยว่า เป็นการศึกษาที่สร้างความอ่อนแอทางสติปัญญาและทำลายศักยภาพในการเรียนรู้ เนื่องจากเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาในห้องเรียน และท่องจำ
จากตำราเป็นใหญ่ ผู้เรียนขาดประสบการณ์และการศึกษาจากความเป็นจริงรอบตัว ขาดความคิดวิจารณญาณ ขาดการนำประสบการณ์หรือข้อมูลมาสังเคราะห์ให้เป็นปัญญาที่สูงขึ้น การเรียนวิธีนี้จริยธรรมจึงไม่เกิด เพราะจริยธรรมเกิดจากความเข้าใจโลกและเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง ประเวศ วะสี เสนอว่า การศึกษาที่ดีความจะสร้างคนให้ฉลาด เป็นคนดีและมีความสุข กระบวนการเรียนรู้ควรเน้น
ที่การช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ท่าน (ประเวศ วะสี. 2537: 26 – 29) ได้เสนอวิธีการเรียนรู้ที่ปรับมาจากแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับปัญญา 3 อัน ได้แก่ สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการรับรู้รับฟัง) จินตามยปัญญา (ปัญญาอันเกิดจากการคิด) และภาวนามยปัญญา (ปัญญาอันเกิดจาการภาวนา) มาเป็น

1. การศึกษาจากการสัมผัสความจริง ได้แก่ ความจริงทางธรรมชาติ ความจริงทางสังคม วัฒนธรรม ความจริงโดยการทำงานและกิจกรรม ความจริงที่เป็นสุนทรียะ และความจริงทางข้อมูลข่าวสาร
2. การศึกษาจากการคิด การคิดเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์และต่อเนื่องจากการศึกษาโดยสัมผัสความจริง ประกอบด้วย
2.1 การฝึกสังเกต
2.2 การฝึกบันทึก
2.3 การฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม
2.4 การฝึกการฟัง
2.5 การฝึกการปุจฉา – วิสัชนา หรือถาม- ตอบ ฝึกการใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ฯลฯ
2.6 การฝึกการตั้งสมมติฐานและการตั้งคำถาม
2.7 การฝึกแสวงหาคำตอบต่อคำถามที่ตั้งขึ้น
2.8 การวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่
2.9 การเชื่อมโยง บูรณาการและการเข้าใจตนเอง เกิดการรู้ตนเองตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์กับคนอื่นและสิ่งอื่นอย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดจริยธรรมขึ้นในตนเอง
2.10 การฝึกการเขียนและเรียบเรียงทางวิชาการ
3. การศึกษาจากการเจริญสติ การเจริญสติเป็นวิธีการทางปัญญาที่จะช่วยให้การสัมผัส
ความจริงและการคิดมีความตรงและคมชัดมากขึ้น ทำให้เอาปัญญามาใช้ได้ทันช่วย
ป้องกันความผิดพลาด และสกัดกั้นความไม่ดีงามไม่ให้เข้ามาสู่ตัว ทั้งยังเป็นเครื่อง
รักษาสุขภาพได้อย่างดีอีกด้วย


 วิจารณ์ พานิช ( 2548) ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่า
     หมายถึงเครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 
บรรลุเป้าหมายของงาน 
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์การไปเป็นองค์การเรียนรู้
บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน 
ดยการจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่ 
 (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์การ 
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน 
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน  
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้  
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น           

     โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และ ความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ (Operation Effectiveness) และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์การ และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์การ 
 (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) มีดังนี้
1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม


ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ส่วนหัวปลา (KNOWLEDGE VISION : KV) ส่วนที่เป็นเป้าหมาย คือเป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการ ความรู้ มองหาเส้นทางที่เดินทางไป แล้วคิดวิเคราะห์ว่า จุดหมายอยู่ที่ไหน ต้องว่ายแบบใดไปในเส้นทางไหน และไปอย่างไร ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) ก่อนที่เราจะ ทางานอะไรซักอย่างเราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร จุดหมายคืออะไร และต้องทา อย่างไรบ้าง ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ความเป็นจริงของการจัดการความรู้ ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นกระบวนการหรือกลยุทธ์ที่ทาให้งานบรรลุผลตามที่ต้องการโดย ใช้ความรู้เป็นฐานหรือเป็นปัจจัยให้งานสาเร็จ อาทิเช่น  การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะสู่ความเป็นเลิศ  การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ได้รับการรองรับมาตรฐาน  การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงาน โดยที่ส่วนหัวปลา จะต้องเป็นของผู้ดาเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมด หรือ “คุณกิจ” โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอานวย” คอยช่วยเหลือ การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL) ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด 

ส่วนกลางลาตัว (KNOWLEDGE SHARING : KS) การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL) ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (ต่อ) เป็นส่วนกิจกรรม คือ ส่วนลาตัวที่มีหัวใจของปลาอยู่ทาหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ (KnowledgeSharing) คือเราจาเป็นต้องสร้างบรรยากาศที่เกิดการเรียนรู้เพื่อให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันจัดเป็น ส่วนสาคัญที่สุด และยากที่สุดในกระบวนการจัดการความรู้ ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แนบแน่นอยู่กับการทางานนี้ เรา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสภาพจิตทั้ง 3 ระดับ คือ 
ระดับมีสติรู้สานึกระดับจิตใต้ สานึก 
ระดับจิตเหนือสานึกอย่างซับซ้อน โดยที่จิตของสมาชิกทุกคนมี อิสระในการคิด การตีความตามพื้นฐานของตน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ อาศัยพลังความแตกต่างของสมาชิกโดยมีจุดร่วมอยู่ที่การบรรลุ “หัวปลา” ของการจัดการความรู้ และ “หัวปลา” ขององค์กร

ส่วนที่เป็นหางปลา (KNOWLEDGE ASSETS : KA) การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL) ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (ต่อ) เป็นส่วนการจดบันทึก คือ องค์ความรู้ที่องค์กรได้เก็บสะสมไว้ เป็นคลังความรู้หรือขุมความรู้ ซึ่งมาจาก 2 ส่วนคือ  ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย (Eplicit Knowledge) คือ ความรู้เชิงทฤษฎีที่ปรากฏให้ เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เอกสาร ตารา และคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น  ความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ไม่ ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก เมื่อบุคคลออกจากองค์กรไปแล้ว และความรู้นั้นยังคงอยู่กับองค์กร ไม่สูญหายไปพร้อมกับตัวบุคคล การจัดการความรู้ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บ จัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการเข้าถึงและปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (Update) ช่วยทา หน้าที่เป็นพื้นที่เสมือน (Virtual Space) ให้คนที่อยู่ไกลกันสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น บุคคลที่เป็นผู้สกัดแก่นความรู้ คือ “คุณกิจ” โดยมี “คุณ ลิขิต” เป็นผู้ช่วยจดบันทึก โดยที่ในบางกรณี “ คุณลิขิต” ก็ช่วยตีความด้วย

สรุป ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)
 1. รวบรวมความรู้เข้าคลัง (Collection) 
2. จัดการความรู้ (Management) 
3. ประเมินความรู้ (Evaluation)
 4. เผยแพร่ความรู้ (Sharing) ตัวแบบทูน่า (Tuna model) 

.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550: 21-26) เป็นตัวแบบหนึ่งของการ จัดการความรู้ ที่นามาประยุกต์ และเพิ่มระบบย่อยเข้าไปในแต่ละส่วน ให้เป็นตัวแบบที่ใช้อธิบาย“การ พัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร โดยใช้ตัวแบบทูน่า”ซึ่งตัวแบบกาหนดเป็น 3 ส่วน 
ส่วนแรก ส่วนกาหนดทิศทาง (Knowledge Vision) 
1. วิสัยทัศน์/นโยบาย (Vision) 
2. ตัวบ่งชี้ความสาเร็จ INDICATOR) 
3. แผนปฏิบัติการ (Plan) 
4. จัดสรรทรัพยากร (Resource)

ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing) 
1. กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Group Discussion) 
2. วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Analysis) 
3. ฝึกใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Practice) 
4. สังเคราะห์ แล้วแบ่งปัน (Synthesis) การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL) ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด

ความรู้ประเภท   ( Explicit Knowledge ) และ  (Tacit Knowledge )
 1. ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการวิจัย จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง

2. ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ กลายเป็นความชำนาญ เชี่ยวชาญ จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้งาน Joomla เบื้องต้น

        Joomla ( จูมล่า) เป็นโปรแกรม OpenSource ( โอเพ่นซอส) ทีใช้สำหรับสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ หรือบริหารจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว...