วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้


คำถามกรณีศึกษา
1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  โดยทำการเปรียบเทียบ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
-เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
-วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
-ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

โรงพยาบาลศิริราช 


เป้าหมาย
     ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาคณะฯ ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
     ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถใช้ความรู้ในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์ ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู ความเป็นเลิศ นอกจากนี้การเข้าร่วมโครงการเป็นโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่นในการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เพื่อการขยายผลต่อไป

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
     โรงพยาบาลศิริราช เริ่มดำเนินโครงการการจัดการความรู้ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วันให้กับผู้บริหารระดับสูงและทีมงาน โดยมี Mr. Robert Osterhoff  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการมาเป็นวิทยากรการดำเนินโครงการใช้ Model “Knowledge Management Cycle of Implementation” ซึ้งเป็น Model ที่ประยุกต์มาจากของ บริษัท Xerox Corporation เป็น Model ในระหว่างการประชุมมีการประเมินและวิเคราะห์องค์กร โดยผู้บริหารมีมติว่าจะจัดการความรู้เรื่อง “CQI” (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก หลักจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้จากนั้นคณะทำงานได้ประเมินและวิเคราะห์องค์กรอย่างละเอียด พบว่าโรงพยาบาลศิริราชมีการดำเนินการด้าน CQI ทางคลินิกมาพอสมควร ซึ้งกระบวนการ CQI เป็นวิธีการพัฒนาและปรับปรุงการบริการทำให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1.  การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม การนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องเตรียมองค์กรให้พร้อม ปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูงได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ โดยให้ทั้งการสนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการแลกเปลี่ยนความรู้

2.  การสื่อสาร สโลแกนชิ้นแรกที่เผยแพร่ออกไปคือ “KM ไม่ใช่ MK” เพื่อกระตุ้นความสนใจ โดยทำแผ่นป้ายติดทั่วโรงพยาบาลและใส่ไว้ในสื่อทุกสื่อที่มีอยู่ในโรงพยาบาล และได้กระตุ้นให้บุคลากรมีความตื่นตัวในเรื่อง KM อยู่เสมอด้วย การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สารศิริราชอินไซด์ฝ่ายการพยาบาล ข่าวสารคุณภาพ บอร์ดประชาสัมพันธ์ กระจายเสียงตามสาย และเว็บไซต์ โครงการ KM

3.  กระบวนการและเครื่องมือ ในระยะแรกโรงพยาบาลศิริราชมุ่งเน้นการสร้างชุมชนแห่งการ ปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice หรือ CoP) ทางด้าน CQI โดยเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ช่วยเหลือ แนะนํา และให้คําปรึกษากันในการนํา CQI มาช่วยในการ พัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีผลดียิ่งขึ้น

4.  การฝึกอบรมและการเรียนรู้ ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ KM ศิริราชประสบปัญหาจำนวน คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ บุคลากรบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์เข้าอินเทอร์เน็ตไม่เป็น จึงต้อง หันมาโปรโมทเรื่อง IT เป็นอันดับแรก เพื่อแก้ปัญหานี้ ศิริราชจึงจัดงาน “IT Week” ขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งทำให้บุคลากรมีความรู้ด้าน IT มากขึ้น และใน ระหว่างที่ให้ความรู้ด้าน IT ก็ได้ให้ความรู้เรื่อง KM และรับสมัครสมาชิก โครงการ KM ไปพร้อม ๆ กัน
5.  การยกย่องชมเชยและให้รางวัล ผู้บริหารได้ให้การชมเชยและมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ บุคลากรที่อาสาเข้ามาทำงานด้าน KM
6.  การวัดผล วัดและประเมินการดำเนินงานโดยกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนผู้ชม KM website จำนวนผู้เข้าเสวนา KM web board จำนวนผู้ขอคำปรึกษา KM call center จำนวนข้อมูลการทำ CQI ในเว็บไซต์

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
     1.ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ/ผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
 2.มีการกำหนดกลยุทธิ์ & ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการบูรณาการของทีม QD,UM,KM,R2R มุ่งเน้นการพัฒนาคน
 3.สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ สามารถสร้างคุณค่าของทุกฝ่าย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และระบบสนันสนุนที่ครบถ้วน สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
 4.มีการประเมินผล (ภายใน-ภายนอก) เพื่อพัฒนาต่อเนื่องและต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
 5.ใช้Siriraj KM strategy (Link-share-Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
 6.ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมันในการทำดีเพื่อส่วนรวม




บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด


เป้าหมาย
     พัฒนาองค์กรทุกด้าน ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
จนได้รับการยอมรับในวงกว้าง และเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
     เพื่อรองรับสภาวการณ์การแข่งขันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย ซับซ้อน และเมื่อบุคลากรลาออก/เกษียณหรือเปลี่ยนหน้าที่ก็มีผลกระทบต่องานเพราะผู้ที่ลาออก/เกษียณหรือเปลี่ยนหน้าที่นำาความรู้ที่สะสมไว้ตลอดอายุการทำงานติดตัวไปด้วย ส่วนผู้ที่มา
รับหน้าที่ใหม่ก็ยังไม่มีความรู้เหล่านั้น กว่าจะมีความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ ฝึกฝน เป็นเวลานานๆ นอกจากนั้น ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร การที่บุคลากรลาออก/เกษียณไปพร้อมกับความรู้จึงถือเป็นการสูญเสียขององค์กรด้วย

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
     สำนักงานการบุคคลกลางได้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยการแต่งตั้งคณะทำงาน บริหารการเปลี่ยนแปลงดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ในการจัดการความรู้ ได้แก่ บ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ แยกแยะเป็นความรู้ที่มีและที่ยังขาด สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database
แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร รวมทั้งกิจกรรมโครงการ
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
การบริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม เช่น กำหนดให้ความใฝ่รู้ (Eager to Learn) เป็น Core competency ของพนักงานทุกคน ผู้บริหารเป็นตัวอย่างที่ดีในการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้มีผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
2. การสื่อสาร ทำการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น อีเมล์ เว็บไซต์ โปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ภายใน SCG การถ่ายทอด สดผ่าน Intranet เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้ว่าหน่วยงานกำลังทำอะไร ทำแล้วหน่วยงานและ
พนักงานจะได้ประโยชน์อะไร พนักงานจะมีส่วนร่วมโดยการทำอะไรและทำอย่างไร
3. กระบวนการและเครื่องมือ สร้างโอกาสและช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆ รูปแบบ
4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ จัดอบรมให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ทั้งด้านความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ การมีส่วนร่วม รวมทั้งเทคนิควิธีการใช้เครื่องมือ KM แนะนำวิธีติดตามข่าวสารและแหล่งความรู้ใน SCG สอนการใช้เครื่องมือสืบค้น (Search engine) การสร้าง
Blog การใช้ Chat room การเข้าร่วมกับชุมนุมนักปฏิบัติ
5. การวัดผล วัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานโดยการสังเกต การพูดคุย การใช้แบบสอบถาม วัดประสิทธิภาพของสื่อต่างๆ ดูจากปฏิกิริยาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีการสื่อสารถึง
พนักงาน วัดผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม KM โดยดูจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM ของพนักงาน และวัดความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อ
การจัดการความรู้
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล คณะทำงาน KM ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลแก่พนักงาน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้านการจัดการความรู้ที่หน่วยงานจัดขึ้น

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
     การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กรและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กรวัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุนการจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้นระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูลมีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้




บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
เป้าหมาย
     แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน ปรับปรุงงาน และสร้างนวัตกรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
1. เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. หน่วยงานประสบความส าเร็จ มีผลการด าเนินงานดีเด่นได้รับรางวัลมากมาย
3. นวัตกรรมทั้งภายในที่องค์กรน าไปใช้ได้จริงท าให้เพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย และนวัตกรรมระดับชาติ

วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
     กำหนดแนวทางการจัดการความรู้ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของ 7-Eleven เอง มีการสำรวจ รวบรวมและประมวลความรู้ที่องค์กรมีอยู่แล้วออกมาเป็นความรู้หลักขององค์กร แล้วจัดให้มีบรรยากาศที่บุคลากรสามารถเข้าถึงและนำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายด้วยดี ส่วนความรู้ที่พบว่ามีในตัวบุคคลทั้งที่เป็น Tacit และ Explicit ก็จัดการให้ มีการแลกปันผ่านกระบวนการด้านกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant Mission รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มี โอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม ด้วยการเสนอแนะปรับปรุงงานของตนเอง ในโครงการข้อเสนอแนะ Baby Ant กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant Mission เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตของ ซีพี ออลล์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2541 เมื่อมีการริเริ่มนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ในองค์กร กิจกรรมกลุ่มคุณภาพAnt Mission จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันให้พนักงานนำองค์ความรู้ของตนมาแลกปันกันภายในทีมงาน มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น มีการแลกปันองค์ความรู้ระหว่าง ทีมงาน Ant Mission ในหน่วยงาน แล้วคัดเลือกผลงาน Ant Mission จากแต่ละหน่วยงานมาประกวดกัน ภายในองค์กร เพื่อให้เกิดการแลกปันความรู้ของพนักงานระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งเพื่อคัดเลือกกลุ่ม Ant Mission ที่มีผลงานดีเด่น เป็นตัวแทนของ 7-Eleven เข้าประกวดในเวทีระดับประเทศ ที่ผ่านมา ผลงานของกลุ่ม Ant Mission ดีเด่น ได้สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับ ซีพี ออลล์ เป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลการประกวดระดับชาติ ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ
โครงการข้อเสนอแนะ Baby Ant เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2548 ด้วยความมุ่งหมายให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ทั่วถึงทั้งองค์กร โดยการให้พนักงานทุกคน ทั้งสายสำนักงาน สายร้านค้า และสายคลังสินค้า เสนอแนวคิดเป็น
รายบุคคล เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานและการปรับปรุงงานให้มีคุณภาพ ซึ่งได้รับการตอบรับจากพนักงานเป็นอย่างดี มีการเสนอความคิดเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีทีมงานอำนวยความสะดวกในการจัดทำแบบฟอร์มและกล่องรับไปตั้งไว้ทุกสาขาและส่วนสำนักงาน พนักงานสามารถหยิบแบบฟอร์มไปเขียนและใส่กล่องรับอย่างสะดวกเมื่อใดก็ได้ โดยมีกำหนดว่าแต่ละคนต้องเขียนอย่างน้อย 1 เรื่องในแต่ละไตรมาส แต่ละข้อเสนอแนะมีแต้มสะสมให้ เมื่อสะสมได้ระดับหนึ่งก็นำไปแลกของรางวัล เป็นการกระตุ้ให้แสดงความรู้ออกมาองค์ความรู้ที่ได้รับจากข้อเสนอแนะ Baby Ant ผู้บริหารจะพิจารณาเพื่อคัดเลือกเรื่องที่จะนำไปขยายผล มีการกำหนด KPI ทุกสำนัก โดยบริษัทจะวัด % ที่นำเรื่องข้อเสนอแนะ Baby
Ant ไปปรับปรุงงานจนประสบผลสำเร็จ และสามารถนำไปขยายผลกับสำนักที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม 
โครงการ Ant Mission เริ่มมาตั้งแต่เป็นกิจกรรมกลุ่มคุณภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิต มีการประกวดและมอบรางวัลกันอย่างต่อเนื่อง ต่อมาได้เปลี่ยนเป้าหมายเป็นเพื่อนวัตกรรมวิธีการหลักๆ คงเหมือนตอนต้น เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มศูนย์กระจายสินค้า
โครงการ President Award เริ่มใน พ.ศ. 2550 เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มธุรกิจย่อยทั้งหมดของ ซีพี ออลล์
โครงการ Big Fish เริ่มใน พ.ศ. 2551 เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มร้านสาขา 7-Eleven

ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและสนับสนุน กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและติดตามการดำเนินการตามนโยบาย
2.การบริหารองค์การตามหลัก TQM (Total Quality Management) และ TQA (Thailand Quality Award)
3.มีการถ่ายทอดและสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
4.มีการปรับปรุงงานทุกวัน อย่างต่อเนื่อง
5.มีค่านิยมขององค์กรที่เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิตและการสร้างนวัตกรรม



2. ให้วิเคราะห์ว่าในกระบวนการของการจัดการความรู้
องค์กรทั้ง 3 แห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศอะไรบ้าง
มาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยน
และเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร
     โรงพยาบาลศิริราช แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน QD, KM, UM, R2R websites จัดทำจุลสาร QD รายเดือน จัดทำระบบเอกสารคุณภาพที่รองรับทุกมาตรฐาน (HA, JCIA, ISO, GMP) สื่อสารอ้างอิงได้ทันเวลา ทบทวนทุก 3 ปี จัดระบบขึ้นทะเบียนและเผยแพร่แบบ Online สนับสนุนการฝึกอบรมภายใน/ภายนอก
      บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มีการพัฒนาความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น Soft learning, e-learning,
Book briefing, Case study มีการจัดอบรม KM ให้พนักงานในหน่วยงาน จัดทำ Web board เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้
     บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เครื่องมือที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ คือ Storytelling , Benchmarking , Best Practice , Lesson Learned,AAR

3. ให้นักศึกษาเข้าไปยังเว็บไซต์การจัดการความรู้
ของกรณีศึกษาข้างต้น
และศึกษาเนื้อหาข้อมูลข่าวสารบนเว็บที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ว่ามีอยู่ในหัวข้อเว็บเพจใด มีเนื้อหาอะไรบ้าง
1.  การจัดการความรู้ของ SCG 
ตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล มีหัวข้อ และเนื้อหา ดังนี้ 
การจัดการความรู้ แบบ Share
มีทัศนคติแบบการเรียนรู้ ที่ช่วยเหลือกัน
อาศัยเทคนิคจากวิศวกร
อาศัย Know-how จากต่างประเทศ
การจัดการความรู้
การเตรียมความรูที่มีอยูในองค์กรให้พร้อมใช้งานยึดหลัก “ผู้บริหารต้องเป็นRole Model” Work – Life Balance
งาน/ครอบครัว ชีวิตต้องสมดุลการมองชีวิตแบบ  win-win ,“ I AM O.K.YOU ARE O.K. ”
สาเหตุที่ทําให้คนเรายอมถ่ายทอดความรู้ใ้หแก่ผู้อื่นมี  3   ประการดังนี้
 1.มีความไว้วางใจกัน
 2.มีความรัก/สนิทสนมกัน
 3.มีผลประโยชน์ร่วมกัน
การจัดการความรู้ขององค์การ (Organization)
การจัดการความรู้ส่วนบุคคล(Individual)
การเรียนรู้ของคนในองค์กร
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กร

2. การจัดการความรู้ของศิริราช
คือ บคความคุณภาพงานจัดการความรู้ (KM)ฉบับเดือนมีนาคม 2562
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การทำงานประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง คือ การทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การทำให้ผู้ป่วยและผู้เรียนดีขึ้น จึงเสมือนเป็นแรงบันดาลใจในการทำตามกระบวนการ ระยะแรกเกิดความผิดพลาดมาก แต่สุดท้ายเราได้เรียนรู้ว่า การใช้ Change Management ทำให้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ และต้องเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นั่นคือทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นงานประจำให้ได้ ในเชิงของผู้นำต้องสร้าง Successor มาทำงานด้วย เพื่อที่ว่าหากมีการปรับเปลี่ยนคน จะได้มีคนทำงาน

บทที่ 3 กระบวนการจัดการความรู้


กระบวนการจัดการความรู้
          การจัดการความรู้ หมายถึง คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

โมเดลการจัดการความรู้


 
          โมเดลเซกิ (SECI Model)ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร 
เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) 
การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) 
การควบรวมความรู้ (Combination) 
การผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน

1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit 
      กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา

2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit 
      กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่

3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit 
      กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร

4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
      กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร


บทที่ 6 การใช้งาน Joomla เบื้องต้น

        Joomla ( จูมล่า) เป็นโปรแกรม OpenSource ( โอเพ่นซอส) ทีใช้สำหรับสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ หรือบริหารจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว...