คำถามกรณีศึกษา
1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และบริษัท ทรู
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยทำการเปรียบเทียบ
ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
-เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
-วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
-ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
โรงพยาบาลศิริราช
เป้าหมาย
ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาคณะฯ
ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคระแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สามารถใช้ความรู้ในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์
ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู ความเป็นเลิศ
นอกจากนี้การเข้าร่วมโครงการเป็นโอกาสที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่นในการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ในองค์กรที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
เพื่อการขยายผลต่อไป
วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
โรงพยาบาลศิริราช
เริ่มดำเนินโครงการการจัดการความรู้ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วันให้กับผู้บริหารระดับสูงและทีมงาน โดยมี Mr. Robert
Osterhoff ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการมาเป็นวิทยากรการดำเนินโครงการใช้
Model “Knowledge Management Cycle of Implementation” ซึ้งเป็น
Model ที่ประยุกต์มาจากของ บริษัท Xerox Corporation เป็น Model ในระหว่างการประชุมมีการประเมินและวิเคราะห์องค์กร
โดยผู้บริหารมีมติว่าจะจัดการความรู้เรื่อง “CQI” (Continuous Quality
Improvement) ทางคลินิก หลักจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการความรู้จากนั้นคณะทำงานได้ประเมินและวิเคราะห์องค์กรอย่างละเอียด
พบว่าโรงพยาบาลศิริราชมีการดำเนินการด้าน CQI ทางคลินิกมาพอสมควร
ซึ้งกระบวนการ CQI เป็นวิธีการพัฒนาและปรับปรุงการบริการทำให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
1.
การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม การนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องเตรียมองค์กรให้พร้อม
ปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูงได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ
โดยให้ทั้งการสนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการแลกเปลี่ยนความรู้
2.
การสื่อสาร สโลแกนชิ้นแรกที่เผยแพร่ออกไปคือ “KM ไม่ใช่ MK” เพื่อกระตุ้นความสนใจ
โดยทำแผ่นป้ายติดทั่วโรงพยาบาลและใส่ไว้ในสื่อทุกสื่อที่มีอยู่ในโรงพยาบาล
และได้กระตุ้นให้บุคลากรมีความตื่นตัวในเรื่อง KM อยู่เสมอด้วย
การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สารศิริราชอินไซด์ฝ่ายการพยาบาล ข่าวสารคุณภาพ
บอร์ดประชาสัมพันธ์ กระจายเสียงตามสาย และเว็บไซต์ โครงการ KM
3.
กระบวนการและเครื่องมือ
ในระยะแรกโรงพยาบาลศิริราชมุ่งเน้นการสร้างชุมชนแห่งการ ปฏิบัติ หรือ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice หรือ CoP)
ทางด้าน CQI โดยเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก
เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ช่วยเหลือ แนะนํา และให้คําปรึกษากันในการนํา CQI มาช่วยในการ พัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีผลดียิ่งขึ้น
4.
การฝึกอบรมและการเรียนรู้ ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ KM ศิริราชประสบปัญหาจำนวน คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ
บุคลากรบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์เข้าอินเทอร์เน็ตไม่เป็น จึงต้อง
หันมาโปรโมทเรื่อง IT เป็นอันดับแรก เพื่อแก้ปัญหานี้
ศิริราชจึงจัดงาน “IT Week” ขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทำให้บุคลากรมีความรู้ด้าน IT
มากขึ้น และใน ระหว่างที่ให้ความรู้ด้าน IT ก็ได้ให้ความรู้เรื่อง
KM และรับสมัครสมาชิก โครงการ KM ไปพร้อม
ๆ กัน
5.
การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
ผู้บริหารได้ให้การชมเชยและมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่
บุคลากรที่อาสาเข้ามาทำงานด้าน KM
6.
การวัดผล วัดและประเมินการดำเนินงานโดยกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนผู้ชม
KM website จำนวนผู้เข้าเสวนา KM web board จำนวนผู้ขอคำปรึกษา KM call center จำนวนข้อมูลการทำ
CQI ในเว็บไซต์
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ/ผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
2.มีการกำหนดกลยุทธิ์ & ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
และมีการบูรณาการของทีม QD,UM,KM,R2R มุ่งเน้นการพัฒนาคน
3.สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ สามารถสร้างคุณค่าของทุกฝ่าย
มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และระบบสนันสนุนที่ครบถ้วน
สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
4.มีการประเมินผล (ภายใน-ภายนอก) เพื่อพัฒนาต่อเนื่องและต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
5.ใช้Siriraj KM strategy (Link-share-Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
6.ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมันในการทำดีเพื่อส่วนรวม
บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
พัฒนาองค์กรทุกด้าน
ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
จนได้รับการยอมรับในวงกว้าง
และเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
เพื่อรองรับสภาวการณ์การแข่งขันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย
ซับซ้อน และเมื่อบุคลากรลาออก/เกษียณหรือเปลี่ยนหน้าที่ก็มีผลกระทบต่องานเพราะผู้ที่ลาออก/เกษียณหรือเปลี่ยนหน้าที่นำาความรู้ที่สะสมไว้ตลอดอายุการทำงานติดตัวไปด้วย
ส่วนผู้ที่มา
รับหน้าที่ใหม่ก็ยังไม่มีความรู้เหล่านั้น
กว่าจะมีความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ ฝึกฝน เป็นเวลานานๆ นอกจากนั้น
ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร
การที่บุคลากรลาออก/เกษียณไปพร้อมกับความรู้จึงถือเป็นการสูญเสียขององค์กรด้วย
วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
สำนักงานการบุคคลกลางได้ดำเนินการจัดการความรู้
โดยการแต่งตั้งคณะทำงาน บริหารการเปลี่ยนแปลงดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ
ในการจัดการความรู้ ได้แก่ บ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ
แยกแยะเป็นความรู้ที่มีและที่ยังขาด สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม
จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database
แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร รวมทั้งกิจกรรมโครงการ
อื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
การบริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม เช่น กำหนดให้ความใฝ่รู้ (Eager
to Learn) เป็น Core competency ของพนักงานทุกคน
ผู้บริหารเป็นตัวอย่างที่ดีในการเปลี่ยนแปลง
สนับสนุนให้มีผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
2. การสื่อสาร ทำการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น อีเมล์ เว็บไซต์ โปสเตอร์
สิ่งพิมพ์ภายใน SCG การถ่ายทอด สดผ่าน Intranet เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้ว่าหน่วยงานกำลังทำอะไร ทำแล้วหน่วยงานและ
พนักงานจะได้ประโยชน์อะไร
พนักงานจะมีส่วนร่วมโดยการทำอะไรและทำอย่างไร
3. กระบวนการและเครื่องมือ
สร้างโอกาสและช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆ
รูปแบบ
4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ จัดอบรมให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้
ทั้งด้านความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ การมีส่วนร่วม
รวมทั้งเทคนิควิธีการใช้เครื่องมือ KM แนะนำวิธีติดตามข่าวสารและแหล่งความรู้ใน
SCG สอนการใช้เครื่องมือสืบค้น (Search engine) การสร้าง
Blog
การใช้ Chat room การเข้าร่วมกับชุมนุมนักปฏิบัติ
5. การวัดผล วัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานโดยการสังเกต การพูดคุย
การใช้แบบสอบถาม วัดประสิทธิภาพของสื่อต่างๆ
ดูจากปฏิกิริยาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีการสื่อสารถึง
พนักงาน
วัดผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม KM โดยดูจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน
วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM ของพนักงาน
และวัดความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อ
การจัดการความรู้
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล คณะทำงาน KM ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลแก่พนักงาน
เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ด้านการจัดการความรู้ที่หน่วยงานจัดขึ้น
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กรและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กรวัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุนการจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ
ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้นระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร
ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูลมีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ
ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน ปรับปรุงงาน และสร้างนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ขององค์กร
1. เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. หน่วยงานประสบความส าเร็จ มีผลการด าเนินงานดีเด่นได้รับรางวัลมากมาย
3. นวัตกรรมทั้งภายในที่องค์กรน าไปใช้ได้จริงท าให้เพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย
และนวัตกรรมระดับชาติ
วิธีการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร
กำหนดแนวทางการจัดการความรู้ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของ 7-Eleven
เอง มีการสำรวจ
รวบรวมและประมวลความรู้ที่องค์กรมีอยู่แล้วออกมาเป็นความรู้หลักขององค์กร
แล้วจัดให้มีบรรยากาศที่บุคลากรสามารถเข้าถึงและนำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน
ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายด้วยดี ส่วนความรู้ที่พบว่ามีในตัวบุคคลทั้งที่เป็น Tacit
และ Explicit ก็จัดการให้
มีการแลกปันผ่านกระบวนการด้านกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant Mission รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มี โอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่ม ด้วยการเสนอแนะปรับปรุงงานของตนเอง ในโครงการข้อเสนอแนะ Baby
Ant กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant Mission เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตของ
ซีพี ออลล์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2541 เมื่อมีการริเริ่มนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ในองค์กร
กิจกรรมกลุ่มคุณภาพAnt Mission จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันให้พนักงานนำองค์ความรู้ของตนมาแลกปันกันภายในทีมงาน
มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
มีการแลกปันองค์ความรู้ระหว่าง ทีมงาน Ant Mission ในหน่วยงาน
แล้วคัดเลือกผลงาน Ant Mission จากแต่ละหน่วยงานมาประกวดกัน
ภายในองค์กร เพื่อให้เกิดการแลกปันความรู้ของพนักงานระหว่างหน่วยงาน
รวมทั้งเพื่อคัดเลือกกลุ่ม Ant Mission ที่มีผลงานดีเด่น
เป็นตัวแทนของ 7-Eleven เข้าประกวดในเวทีระดับประเทศ
ที่ผ่านมา ผลงานของกลุ่ม Ant Mission ดีเด่น
ได้สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับ ซีพี ออลล์ เป็นอย่างมาก
ได้รับรางวัลการประกวดระดับชาติ
ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ
โครงการข้อเสนอแนะ
Baby
Ant เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2548 ด้วยความมุ่งหมายให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ทั่วถึงทั้งองค์กร
โดยการให้พนักงานทุกคน ทั้งสายสำนักงาน สายร้านค้า และสายคลังสินค้า
เสนอแนวคิดเป็น
รายบุคคล
เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานและการปรับปรุงงานให้มีคุณภาพ
ซึ่งได้รับการตอบรับจากพนักงานเป็นอย่างดี มีการเสนอความคิดเพิ่มขึ้นตามลำดับ
มีทีมงานอำนวยความสะดวกในการจัดทำแบบฟอร์มและกล่องรับไปตั้งไว้ทุกสาขาและส่วนสำนักงาน
พนักงานสามารถหยิบแบบฟอร์มไปเขียนและใส่กล่องรับอย่างสะดวกเมื่อใดก็ได้
โดยมีกำหนดว่าแต่ละคนต้องเขียนอย่างน้อย 1 เรื่องในแต่ละไตรมาส แต่ละข้อเสนอแนะมีแต้มสะสมให้
เมื่อสะสมได้ระดับหนึ่งก็นำไปแลกของรางวัล
เป็นการกระตุ้ให้แสดงความรู้ออกมาองค์ความรู้ที่ได้รับจากข้อเสนอแนะ Baby
Ant ผู้บริหารจะพิจารณาเพื่อคัดเลือกเรื่องที่จะนำไปขยายผล
มีการกำหนด KPI ทุกสำนัก โดยบริษัทจะวัด %
ที่นำเรื่องข้อเสนอแนะ Baby
Ant
ไปปรับปรุงงานจนประสบผลสำเร็จ และสามารถนำไปขยายผลกับสำนักที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
โครงการ
Ant
Mission เริ่มมาตั้งแต่เป็นกิจกรรมกลุ่มคุณภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิต
มีการประกวดและมอบรางวัลกันอย่างต่อเนื่อง
ต่อมาได้เปลี่ยนเป้าหมายเป็นเพื่อนวัตกรรมวิธีการหลักๆ คงเหมือนตอนต้น
เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มศูนย์กระจายสินค้า
โครงการ
President
Award เริ่มใน พ.ศ. 2550 เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มธุรกิจย่อยทั้งหมดของ
ซีพี ออลล์
โครงการ
Big
Fish เริ่มใน พ.ศ. 2551 เป็นการประกวดผลงานนวัตกรรมในกลุ่มร้านสาขา
7-Eleven
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดความรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและสนับสนุน
กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและติดตามการดำเนินการตามนโยบาย
2.การบริหารองค์การตามหลัก TQM (Total Quality Management) และ TQA (Thailand Quality Award)
3.มีการถ่ายทอดและสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
4.มีการปรับปรุงงานทุกวัน อย่างต่อเนื่อง
5.มีค่านิยมขององค์กรที่เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิตและการสร้างนวัตกรรม
2. ให้วิเคราะห์ว่าในกระบวนการของการจัดการความรู้
องค์กรทั้ง
3 แห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศอะไรบ้าง
มาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง
การแลกเปลี่ยน
และเผยแพร่ความรู้ได้อย่างไร
โรงพยาบาลศิริราช
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน QD,
KM, UM, R2R websites จัดทำจุลสาร QD รายเดือน
จัดทำระบบเอกสารคุณภาพที่รองรับทุกมาตรฐาน (HA, JCIA, ISO, GMP) สื่อสารอ้างอิงได้ทันเวลา ทบทวนทุก 3 ปี
จัดระบบขึ้นทะเบียนและเผยแพร่แบบ Online สนับสนุนการฝึกอบรมภายใน/ภายนอก
บริษัทปูนซีเมนต์ไทย
จำกัด มีการพัฒนาความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น Soft learning, e-learning,
Book
briefing, Case study มีการจัดอบรม KM ให้พนักงานในหน่วยงาน
จัดทำ Web board เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้
บริษัท ทรู
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้
คือ Storytelling , Benchmarking , Best Practice , Lesson Learned,AAR
3. ให้นักศึกษาเข้าไปยังเว็บไซต์การจัดการความรู้
ของกรณีศึกษาข้างต้น
และศึกษาเนื้อหาข้อมูลข่าวสารบนเว็บที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
ว่ามีอยู่ในหัวข้อเว็บเพจใด มีเนื้อหาอะไรบ้าง
1. การจัดการความรู้ของ SCG
ตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล
มีหัวข้อ และเนื้อหา ดังนี้
การจัดการความรู้
แบบ Share
มีทัศนคติแบบการเรียนรู้
ที่ช่วยเหลือกัน
อาศัยเทคนิคจากวิศวกร
อาศัย
Know-how
จากต่างประเทศ
การจัดการความรู้
การเตรียมความรูที่มีอยูในองค์กรให้พร้อมใช้งานยึดหลัก
“ผู้บริหารต้องเป็นRole
Model” Work – Life Balance
งาน/ครอบครัว
ชีวิตต้องสมดุลการมองชีวิตแบบ win-win ,“ I AM O.K.YOU ARE O.K. ”
สาเหตุที่ทําให้คนเรายอมถ่ายทอดความรู้ใ้หแก่ผู้อื่นมี 3 ประการดังนี้
1.มีความไว้วางใจกัน
2.มีความรัก/สนิทสนมกัน
3.มีผลประโยชน์ร่วมกัน
การจัดการความรู้ขององค์การ
(Organization)
การจัดการความรู้ส่วนบุคคล(Individual)
การเรียนรู้ของคนในองค์กร
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กร
2. การจัดการความรู้ของศิริราช
คือ
บคความคุณภาพงานจัดการความรู้ (KM)ฉบับเดือนมีนาคม 2562
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การทำงานประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
คือ การทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การทำให้ผู้ป่วยและผู้เรียนดีขึ้น
จึงเสมือนเป็นแรงบันดาลใจในการทำตามกระบวนการ ระยะแรกเกิดความผิดพลาดมาก
แต่สุดท้ายเราได้เรียนรู้ว่า การใช้ Change Management ทำให้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ และต้องเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นั่นคือทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นงานประจำให้ได้
ในเชิงของผู้นำต้องสร้าง Successor มาทำงานด้วย
เพื่อที่ว่าหากมีการปรับเปลี่ยนคน จะได้มีคนทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น