แนวคิดการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge
Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน
(Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์
พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ
เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น
ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง
จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง
(Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้
โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ
และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย
6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน 4)
การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน
และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น
เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
กรอบความคิดการจัดการความรู้ในรูปแบบของวงจร SECI
Knowledge
Discovery the development of new tacit or explicit
Knowledge from data and information or from the synthesis of prior
Knowledge
การค้นพบความรู้ใหม่หรือความรู้ฝังลึกที่มีการพัฒนาจากข้อมูลหรือจากการสังเคราะห์ความรู้ก่อน
Combination – discovery
the new explicit Knowledge more complex or new explicit
Knowledge
Are created from
multiple body of explicit Knowledge through communication integration and
systemization- proposal writing
การค้นพบความรู้ใหม่
และชัดเจนมากขึ้น ซับซ้อน หรือความรู้ใหม่
ถูกสร้างขึ้นจากหลายตัวของชัดเจนความรู้ผ่านการรวมการสื่อสารและการจัดระบบ
– การเขียน
Socialization –
discovery the new tacit knowledge
The synthesis tacit
knowledge across individual through joint activities instead of written or
verbal instruction
การค้นพบความรู้ใหม่
ซึ่งเป็นนัย
การสังเคราะห์ความรู้ฝังลึกในแต่ละตัวผ่านการร่วมกิจกรรมแทนการเขียน
หรือวาจา
Knowledge capture the process of retrieving either tacit
or explicit knowledge that resides with in people artifacts or organizational
entities
ความรู้จับกระบวนการสืบค้นให้ฝังลึกหรือชัดเจนความรู้ที่อยู่ในคน
สิ่งประดิษฐ์ หรือองค์กรหน่วยงาน
Externalization convert tacit Knowledge to be explicit Knowledge
externalization แปลงความรู้ฝังลึกเป็น
ความรู้ที่ชัดเจน
consultant writing a document describe the lessons the
team has learned about client company
ที่ปรึกษาการเขียนเอกสารอธิบายบทเรียนที่ทีมงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
บริษัท ลูกค้า
Internalization convert explicit knowledge to be tacit knowledge
internalization แปลงความรู้ให้เป็นความรู้ฝังลึก
new software consultant reads a book on innovative
software development and learn from it
ที่ปรึกษาซอฟต์แวร์ใหม่อ่านในหนังสือนวัตกรรม
การพัฒนาซอฟต์แวร์ และเรียนรู้จากมัน
Knowledge sharing the process of tacit or explicit knowledge
are shared to individuals
แบ่งปันความรู้ความรู้ฝังลึกหรือกระบวนการที่ใช้ร่วมกัน
กับบุคคล
Effective transfer to understand well enough to act on
it or having ability to take action based on it
การถ่ายโอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าใจได้ดีพอ
จะทำ หรือ มีความสามารถที่จะดำเนินการบนพื้นฐานของมัน
Share knowledge not recommendation based on knowledge
utilization of knowledge
ไม่แนะนำ แบ่งปันความรู้
เน้นการใช้ความรู้ความรู้
Knowledge sharing take place across
individual groups department organization
แบ่งปันความรู้เกิดขึ้นในแต่ละแผนกขององค์กร
กลุ่ม
Knowledge application the Knowledge is used to guide
decisions and actions
การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ใช้ในการตัดสินใจและการกระทำ
Knowledge contributes most org
performance when it is used to make decision and perform task
ความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจากเมื่อมันถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจและดำเนินการงาน
Direction individual processing knowledge direct the
action of another without transferring
ทิศทางของการกระทำของแต่ละบุคคล
ความรู้โดยตรงโดยไม่ต้องย้ายอีก
Routines utilization of knowledge embedded in procedure
rules and norms that guide future behavior
ตามปกติการใช้ความรู้ที่ฝังอยู่ในขั้นตอนกฎระเบียบและบรรทัดฐานที่คู่มือพฤติกรรมในอนาคต
โมเดลการจัดการความรู้
โมเดลเซกิ (SECI Model) [8] # ถูกเสนอโดย
โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก
(Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge) ใน 4 กระบวนการ
เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization)
การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้
(Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก
เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit
กระบวนการที่ 1
อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit
knowledge) ด้วยกัน
เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง
ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่
แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to
Explicit
กระบวนการที่ 2
อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit
knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์
เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก
อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ
เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย
ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน
เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
กระบวนการที่ 3
อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น
นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร
แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่
แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง
(Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit
knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล
ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ
ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
จากโมเดล SECI ของ Nonaka
และ Takeuchi ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมุ่งเน้นการสร้างความรู้ขององค์กรให้เติบโตขึ้น
โดยการเชื่อมโยงการสร้างองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบความรู้โดยนัย (Tacit
Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มคนในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
มีวิธีการ 4 ลักษณะ ได้แก่
1 การแลกเปลี่ยน ปันความรู้ที่เป็น
Tacit
Knowledge ผ่านเครือข่าย หรือ Socialization โดยการแลกเปลี่ยน
ปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หรือจากการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ฯลฯ
2 การสร้างความรู้จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ
โดยการปันความรู้จากประสบการณ์ (Tacit Knowledge) มาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง
(Explicit Knowledge) ที่ให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ต่อได้
โดยง่าย หรือที่เรียกว่า Externalization
3 การเรียนรู้
แสวงหาความรู้จากภายนอกแล้วบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นให้เข้ากับบริบทขององค์กร
เป็นโมเดลและภาษาขององค์กร ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้
4
เมื่อเรานำความรู้ที่เกิดขึ้นจากสามขั้นตอนข้างต้น
มาลงมือสู่การปฏิบัติจะเกิดการซึมทราบเป็นประสบการณ์ เป็น Tacit
Knowledge หรือเรียกว่า Internalization
นำSECI Model มาประยุกต์ใช้อย่างไร
1.
ส่วนของ Socialization
(S) ได้ประยุกต์โดยการสร้างระบบกระดานสนทนาเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับบุคคลทั่วไป
2.
ส่วนของ Externalization
(E) เป็นส่วนของการรวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างระบบจัดเก็บงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุนัข
และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาทำการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้
3.
ส่วนของ Combination(C)
เป็นการสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการของสุนัขและการแสดงรายละเอียดของโรคที่วิเคราะห์ได้
4.
ส่วนของ Internalization
(I) เป็นส่วนที่ใช้ในการวัดสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานโดยทั่วไป
เช่น การวัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลดงานวิจัย, การวัดสถิติการเข้าชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องและการเก็บสถิติชื่อโรคที่ผู้ใช้เข้ามาทำการค้นหา
เป็นต้น
วงจรความรู้แบบ SECI
เป็นวงจรความรู้ ที่นำเสนอโดย Ikujiro
Nonaka และ Takeuchi กล่าวถึง
การเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge conversion) ระหว่าง Tacit
knowledge และ Explicit knowledge ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น
หมุนเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
การสร้างความรู้จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ คือ
Socialization,
Externalization, Combination และ Internalization
กล่าวคือ Socialization: การแบ่งปันและการสร้าง Tacit
knowledge จากการติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง
เช่น การพูดคุย นาย ก ได้เรียนรู้เทคนิคการเป็นวิทยากรจาก นาย ข
ที่ประสบผลสำเร็จในการสอนจากการพูดคุยกัน นาย ก จะได้รับความรู้จากนาย ข
มาเป็นความรู้ของตนเองเพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคนิคในการสอนของตนเอง
Externalization:
คือ การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มี (Tacit
knowledge) และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit
knowlegde) กล่าวคือ นาย ก หลังจากได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ
แล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป Combination: เป็นการรวบรวมความรู้ประเภท Explicit knowledge ที่เรียนรู้มาสร้างเป็นความรู้ประเภท
Explicit ใหม่ๆ เช่น กรณีที่นาย ก
ศึกษาเพิ่มเติมถึงเทคนิคการสอนจากหลายๆ แห่ง
แล้วสรุปและเผยแพร่เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบใหม่
ซึ่งเกิดจากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตนเอง
Internationalization:
เป็นการแปลง Explicit knowledge มาเป็น Tacit
knowledge เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติ กล่าวคือ คนอื่นๆ
ศึกษาเทคนิคการสอนหรือการเป็นวิทยากรจากตำรา หรือหนังสือที่มีอยู่
อาจรวมถึงหนังสือที่นาย ก เขียน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเอง
จนทำให้เกิดทักษะและความชำนาญจนกลายเป็น tacit knowledge ของตนเองในที่สุด
และเมื่อเกิดความรู้แล้วก็เกิดการแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ
ต่อไปก็จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า Socialization ขึ้นเอง
เป็นกระบวนการที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ